บทความ

ทองสุโขทัย นพคุณแห่งเมืองเก่า

     “จังหวัดสุโขทัย” เมื่อ 700 ปีก่อน นอกจากเคยดำรงสถานะเป็นราชธานีเมืองหลวงของกรุงสุโขทัยที่มีฐานประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งทางด้านศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ จึงทำให้เกิดช่างสกุลสุโขทัยด้านต่างๆ ขึ้นไม่น้อย และในจำนวนนั้นก็คือ ช่างทองสกุลสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่เป็นภาพสลักและภาพปูนปั้นในสมัยสุโขทัย รวมถึงจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้กล่าวถึงการค้าเงินค้าทองไว้ด้วย ขณะที่หลักศิลาจารึกหลักอื่นๆ มีการกล่าวถึงการใช้ทองคำมาเกี่ยวข้องกับพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เช่น พระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ไชยศรี และเศวตฉัตร รวมถึงใช้ทองคำเป็นเครื่องราชบรรณาการ และการสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ รวมทั้งภาชนะอื่นๆ เช่น ตลับและผอบเล็กๆ สำหรับใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือทำเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก และเครื่องประดับ เช่น แหวน ต่างหู กำไล ฯลฯ แหล่งทองคำในสมัยนั้นส่วนหนึ่งนำมาจากบางสะพาน ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกส่วนหนึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีน รวมทั้งยังมีการค้นพบพระพุทธรูปทองคำขนาดเล็กและแผ่นลานทองคำ (เพิ่มเติม…)

ทองคำเปลว หัตถศิลป์ที่ยังมีชีวิต

ทองคำเปลว ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศาสนา และศิลปวัฒนธรรมของไทย อันแฝงไว้ด้วยคุณค่าทางจิตใจ และธำรงไว้ซึ่งศรัทธาตามวิถีของคนไทย จนถึงขณะนี้แม้จะยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่ามีการใช้ทองคำเปลวเพื่อเป็นเครื่องสักการะทางศาสนาตั้งแต่เมื่อใด แต่ทว่าการใช้ทองคำเปลวในงาน วิจิตรศิลป์ มีหลักฐานว่าใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งศิลปะนี้เดิมใช้เฉพาะในชนชั้นระดับสูง เช่น พระมหากษัตริย์ และในงานทางพุทธศาสนา ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีช่างทองหลวงกลุ่มหนึ่งนำความรู้เรื่องการตีทอง ทำทองคำเปลวจากในวัง มาทำเป็นอาชีพในย่านบ้านช่างทอง หรือบริเวณถนนตีทอง ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จากนั้นไม่นาน ความรู้ในการผลิตทองคำเปลว ได้ถูกถ่ายทอดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ย่านนี้เป็นแหล่งที่รวบรวม ผู้ผลิตทองคำเปลวมากมาย โดยบนถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนบำรุงเมือง ความยาว 525 เมตร ต้นถนนจดบำรุงเมือง ก่อนถึงลานเสาชิงช้า หัวมุมถนน ด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวัดสุทัศนเทพวราราม (เพิ่มเติม…)

อิสริยยศทองคำ เกียรติยศแห่งบรรดาศักดิ์

เครื่องราชอิสริยยศหรือเครื่องยศ คือ เครื่องหมายแสดงเกียรติยศ เครื่องประกอบยศ และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ไทย แต่ครั้งโบราณกาลมา สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานให้แก่ราชตระกูล ขุนนาง ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ที่มีตำแหน่งหน้าที่ ความชอบในแผ่นดินให้ปรากฏตามยศชั้น และฐานันดรศักดิ์ของผู้ได้รับพระราชทาน เครื่องยศ จึงสามารถบ่งบอกถึงความสำคัญของบุคคลนั้น ๆ ได้ ดังเช่น จดหมายเหตุของ นิโคลาส แซแว บันทึกไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เราจะรู้ความสำคัญของขุนนางได้ จากหีบหมากพระราชทาน จากรูปพรรณและเนื้อโลหะ ขอบหลอมพอก ฐานะของเรือพาหนะ ดาบที่คาด การมีผู้เชิญข้างหน้า และจากจำนวนทาสที่ติดตามหลัง เครื่องยศ จึงมักทำด้วยวัสดุที่สูงค่า เช่น ทองคำ และงดงามด้วยฝีมือช่างที่มีความประณีต วิจิตรบรรจง มีรูปลักษณ์และลวดลายแตกต่างกันตามลำดับชั้นยศ เครื่องยศที่คุ้นเคยกันดี จะเป็นเครื่องยศในหมวดเครื่องอุปโภค หรือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น พานหมากหีบหมาก คนโท เจียด กาน้ำ ขันน้ำ ที่ชา กระโถน เป็นต้น โดยการพระราชทานจะต่างกันในเรื่องของวัสดุที่ใช้ผลิตได้แก่ เครื่องอุปโภคทองคำลงยาราชาวดี (เพิ่มเติม…)